วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบการจัดการเรียนการสอน (Learning Management System:LMS)

ระบบการจัดการเรียนการสอน (Learning Management System:LMS)

LMS (Learning Management System) คืออะไร

LMS เป็นตัวย่อของ Learning Management System หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยว่า ระบบจัดการเรียนรู้ โดยที่ LMS นี้จะมีลักษณะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรื่องการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เนต ที่มีความสะดวกสบายแก่ทั้งผู้เรียนและผู้สอน โดยที่ในระบบ LMS นี้จะมีทั้งเนื้อหา เอกสาร ของรายวิชาที่มีการเรียนการสอน รวมไปถึงการจัดการในเรื่องการทำแบบฝึกหัด สอบ และส่งงานด้วย LMS ยังเป็นสื่อกลางที่ให้ผู้เรียนและผู้สอนทำการสื่อสารผ่านกันได้ โดยผ่านเครื่องมือสื่อสารประเภท PM (Personal Message), ห้องแชท, เวบบอร์ด เป็นต้น
 
ระบบ LMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายอาทิ สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยในการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถ ปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ใช้งานใน หน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management(KM)

มาตรฐานระบบ E-Learning

กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา(DOD) ได้ศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน (Incompatibility) ของระบบอีเลิร์นนิ่ง และเนื้อหาวิชา ที่พัฒนาแตกต่าง แพลตฟอร์มกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จึงรวบรวมข้อกำหนด ที่พัฒนาก่อนหน้ามาเข้าด้วยกัน ทั้งของ IMS และ AICC เพื่อที่จะออกเป็นข้อกำหนด อีเลิร์นนิ่งกลาง และมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning) เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคมปี 2001 ดังนั้นในการสร้างระบบ LMS ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขึ้นมาใช้งานเอง ซื้อจากบริษัทเอกชน หรือใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประเภท Open Source จำเป็นต้องยึดตามมาตรฐานกลางคือ SCORM (Sharable Content Object Reference Model)

องค์ประกอบ LMS

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ
2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text – based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบ อัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน – ผู้สอน และ ผู้เรียน – ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้
LMS ในท้องตลาดนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันตามการใช้งาน ประเภทแรกคือ กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์ในการใช้งานแบบ GPL ส่วนประเภทที่สองคือ กลุ่มซอฟร์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ ซึ่งต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทแม่ซึ่งเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์ LMS พวกนี้

กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่

• Moodle (www.moodle.org) (แพร่หลายมากที่สุด)
• ATutor (www.atutor.ca)
• Claroline (www.claroline.net)
• LearnSquare (www.learnsquare.com) (สัญชาติไทย)
• VClass (www.vclass.net) (สัญชาติไทย)
• Sakai (www.sakaiproject.org)
• ILIAS (http://www.ilias.de)

กลุ่มซอฟร์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่

• Dell Learning System (DLS) (www.dell.com)
• De-Learn (www.de-learn.com)
• i2 LMS (www.progress-info.co.th) (สัญชาติไทย)

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น