วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์

 
ที่มารูปภาพ: http://atcloud.com

A = ซีพียู CPU (Central Processing Units) หรือ หน่วยประมวลผลกลาง  
คือ ส่วนที่เรียกว่าเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เพราะการทำงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การย้ายข้อมูล การตัดสินใจ ล้วนเกิดขึ้นที่นี่ทั่งสิ้น เพียงแต่ว่าซีพียูจะต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานร่วมด้วย เพื่อให้สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้นั่นก็คือการับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล

B = เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Suppl)
power supply เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรง เพื่อจ่าย ให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์หาก power supply มีคุณภาพดีจ่ายกระแสไฟได้เที่ยงตรง ถูกต้อง ให้กับอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้ดีไปด้วย หากการจ่ายไฟไม่เที่ยงตรงสม่ำเสมอ ก็จะทำให้การ ทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปัญหาไปด้วย


C = พัดลมระบายความร้อน (Fan)
พัดลมระบายความร้อนที่ติดมากับเคสจะไม่ค่อยมีมาให้ในทุกเครื่อง ส่วนใหญ่มักจะใช้พัดลมที่ติดมากับเพาเวอร์ซัพพลาย แต่ถ้าต้องการจะให้มีการระบายความร้อนได้ดีขึ้น อาจซื้อพัดลมนี้มาติดเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะแนะนำสำหรับเครื่องที่มีการโอเวอร์คล๊อกความเร็วของซีพียู ควรติดตั้งพัดลมระบายความร้อนตัวนี้ด้วย จะลดอาการเครื่องแฮงก์ลงได้มาก 

D = การ์ดแสดงผล (Graphic Card)  
คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพหรือจอ มอนิเตอร์ ชิป 3 มิติที่อยู่บนการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ มักจะถูกเรียกว่า GPU (Graphic Processing Unit) หรือ หน่วยประมวลผลกราฟิก เป็นการบอกว่าการ์ดแสดงผลในปัจจุบันสามารถทำหน้าที่ประมวลผลทางด้านกราฟิก ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งซีพียูอีกต่อไป การ์ดแสดงผลในปัจจุบันจะมีรูปแบบของช่องต่อหรือสล็อต 3 แบบคือ PCI ใช้กับการ์ดแสดงผลรุ่นเก่า, AGP (Accelerator Graphic Port) เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลที่ได้รับความนิยม และแบบ PCI Express X16 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดและกำลังจะเข้ามาแทนที่แบบ AGP

E = การ์ดเสียง (Sound Card)  
เป็น อุปกรณ์ที่ใช้ในการสังเคราะห์เสียงโดย Sound Card จะเป็นได้ทั้ง Input และ Output ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Input เมื่อนำสัญญาณเสียง ที่ได้จากภายนอกมาประมวลผล และทำหน้าที่เป็น Out Put เมื่อนำข้อมูลที่เก็บในรูปไฟล์ซึ่งมีหลาย Format ต่างๆ กันออกไปมาประมวลผล และส่งออกไปเป็นสัญญาณที่ Output เช่น MPEG, AVI, REM เป็นต้น ขึ้นกับ Software ที่ใช้ ซึ่งจะมีการแปลงข้อมูลจาก Digital (สัญญาณที่ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น 0,1 ซึ่งอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูล) ไปเป็นสัญญาณ Analog (สัญญาณที่ต่อเนื่องกัน เช่น สัญญาณเสียง) ส่งสัญญาณผ่าน Out Port เพื่อให้เกิดเสียง
  
F = โมเด็น (Modem)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการ ผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

G = Expansion Slot

ช่องเสียบขยาย คอมพิวเตอร์โดยปกตินั้น จะมีช่องทางเข้าออก (port) สำหรับนำ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์โมเด็ม เมาส์ มาต่อได้  ในบางครั้ง เราต้องการต่ออุปกรณ์ มากชนิดเกินกว่า  ช่องทางเข้าออกที่มีให้ เราจึงจำเป็นจะต้องการ  แผ่นวงจรที่มีช่องทางเเข้าออก มาเสียบต่อเข้าไปกับ แผงวงจรหหลัก   ของเครื่องโดยอาศัย ช่องเสียบขยายนี้ เป็นตัวรับ ในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงควรพิจารณาว่า  เครื่องนั้นมีช่องเสียบขยาย เพียงพอให้เราขยายสมรรรถนะ  ของเครื่องในอนาคต ได้หรือไม่ 

H = แรม ( RAM ย่อมาจากคำว่า Random Access Memory ) 
เป็นหน่วยความจำหลักประเภทไม่ถาวร คือ สามารถบันทึกคำสั่งและข้อมูลไปเก็บไว้ในแรมได้ แต่หากไฟฟ้าดับหรือกระพริบ คำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้นั้นจะหายไปในทันที

I  = CD-ROM Drive
จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทมัลติมีเดีย ทำหน้าที่อ่านข้อมูลต่าง ๆ ในแผ่นซีดี ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม เพลง ไฟล์ภาพ หรือภาพยนตร์ ตามปกติซีดีรอมจะทำหน้าที่อ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว แต่ในซีดีรอมบางรุ่น ยังสามารถ เขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ด้วยแต่มีราคาสูงกว่ามาก การเลือกซีดีรอมควรระวังในเรื่องของการอ่าน เพราะพบว่ามีเครื่องซีดีรอมบางรุ่นไม่สามารถอ่านแผ่นบางประเภทได้

J = Floppy Drive
 เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูล ขนาดที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว และมีติดตั้งมากับคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว เนื่องจากมีความจำเป็นน้อยลง ทั้งนี้เพราะการใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ข้อมูลจากจากซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์ เราจะใช้ในกรณีที่ต้องการ Boot เครื่องยามฉุกเฉิน หรือบันทึกงานไปใช้ที่เครื่องอื่น

K Harddisk
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูล หรือ Software ที่เราต้องการ เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Harddrive(Harddisk) ปัจจุบันมี มาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วย กันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก 

L = Chip Set
คือกลุ่มของตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ตัวควบคุมหน่วยความจำ ตัวควบคุมอินเทอร์รัพท์ ตัวควบคุม DMA ตัวควบคุมฐานเวลา ตัวควบคุมการติดต่อสื่อสารกับพอร์ตต่างๆ เช่น Communication Port, Printer Port, USB Port เป็นต้น

M = แผงวงจรหลัก (Main Board)
เหมือนกับพื้นที่ชุมชน เส้นทางการคมนาคมศูนย์ควบคุมการจราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลักและถูก สร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์เราจะแนะนำส่วนประกอบแต่ละส่วนของ เมนบอร์ด ว่าประกอบด้วยส่วนประกอบใดบ้างเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ดนั้นอาจจะมีหลากหลายแตกต่างไปตาม แต่ผู้ผลิตแต่ละแต่ราย และแตกต่างไปตามเทคโนโลยี เพราะ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเมนบอร์ดแบบ ATX, Micro ATX, AT ทำให้ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ การวางส่วนประกอบต่างๆ การทำงานต่างของเมนบอร์ดแตกต่างกันออกไป

ที่มาข้อมูล: http://atcloud.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น